Carbon Credit

 การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Carbon credit)

 

การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก เป็นการซื้อขายโดยผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ตามพิธีสารเกียวโต หรือ Kyoto Protocol ซึ่งอยู่ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในช่วงแรกระหว่างปี 2551-2552 ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิก Kyoto Protocol ในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 1 (Annex I) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5.2% จากปริมาณการปล่อยก๊าซในปี 2533
     
                สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 2 (Annex II) ปัจจุบันไม่มีพันธกรณีที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามพิธีสารเกียวโต มีกลไก 3 ประการที่กำหนดไว้ว่า ภาคีสมาชิกต้องดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพิธีสารเกียวโต ได้กำหนดกลไกยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) 3 กลไก ดังนี้
                1. กลไกการทำโครงการร่วม (Joint Implementation: JI) กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันเองระหว่างประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ เรียกว่า ERU (Emission Reduction Units)
                2. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development: CDM) กำหนดให้ประเทศภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศในกลุ่ม Non-Annex I ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ จะต้องผ่านการรับรองจึงเรียกว่า CERS (Certifiled Emission Reduction)
                3. กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) กำหนดให้ประเทศภาคผนวกที่ 1 (Annex I) ที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศตามที่กำหนดไว้ได้สามารถซื้อสิทธิ์การปล่อยจากประเทศในภาคผนวกที่ 1 ด้วยกันเอง ที่มีสิทธิปล่อยเหลือ (อาจเป็นเครดิตที่เหลือจากการทำโครงการ JI และ CDM หรือสิทธิ์การปล่อยที่เหลือ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจทำให้ปริมาณการปล่อยในปัจจุบันน้อยกว่าปริมาณการปล่อยเมื่อปี ค.ศ. 1990 จึงมีสิทธิ์การปล่อยเหลือพร้อมที่จะขายได้) เราเรียกสิทธิ์ที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะขายกันนี้ว่า AAUs (Assigned Amount Units)
                ประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกมีพันธกรณีในการดำเนินตามกลไกพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM ซึ่งเปิดช่องผ่านกลไกดังกล่าวให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกลุ่มประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถเข้ามาดำเนินโครงการลดและเลิกปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ และให้นำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้เป็น คาร์บอนเครดิตโดยไปหักจากจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่มีพันธกรณีที่จะต้องลดลงในประเทศของตัวเอง
คาร์บอน เครดิตหมายถึง สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันดิบ (Fossil Fuel) ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือยานยนต์ รวมถึงก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก (GreenA House Gas) เช่น ก๊าซมีเทน ที่เกิดจากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ อันเป็นสาเหตุภาวะโลกร้อน (Global Warming)
                หากประเทศที่พัฒนาแล้วไม่สามารถลดมลพิษของตนได้อีกต่อไป ก็ต้องใช้วิธีช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อลดได้จะกลายเป็นคาร์บอนเครดิตของตนเอง ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าปรับ เช่น การปลูกป่าไม้ 2.5 ไร่ สามารถเก็บคาร์บอนเครดิตได้ 2 ตัน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนน้ำมัน 1 หน่วย จะได้เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์ (Solar Cell) ให้ดีขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุล (นาโนเทคโนโลยี) มาประยุกต์ใช้
                ปัจจุบัน ประเทศไทยค่อนข้างตื่นตัวกับการพัฒนาโครงการรวมทั้งความพยายามสร้างโครงการเพื่อรองรับการซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังจะเห็นได้จากมีบริษัทเอกชนหลายแห่งเริ่มโครงการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าขอนแก่นในเครือ KSL เครือปูนซีเมนต์ไทยหรือกลุ่มบริษัทมิตรผลที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติให้สามารถซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้แล้ว และในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีองค์กรมหาชน ชื่อว่า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พ.ศ.2550” (Thailand Greenhouse Gas Management Organization, TGO) หรือ ที่มีชื่อย่อว่า อบก. มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้งติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการและตลาดซื้อขายก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมถึงเป็นศูยน์กลางข้อมูลดำเนินงานและให้การสนับสนุนการดำเนินการด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

 


                                               
      หลักการของอนุสัญญาฯ ที่สำคัญดังนี้
 
1.       หลักการป้องกันไว้ก่อนภายใต้หลักการป้องกันไว้ก่อนนั้น กิจกรรมที่มีโอกาสจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพภูมิอากาศจะต้องมีการจำกัดหรือห้ามดำเนินการ ถึงแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นสาเหตุดังกล่าวก็ตาม เนื่องจากหากรอให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนเทคนิคการวิเคราะห์พัฒนาที่จะทำให้พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้ว ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอาจจะสายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ หลักการนี้จึงให้โอกาสในการควบคุมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอย่างเนิ่นๆ เช่น การกำหนดให้มีการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับการปล่อย ณ ปี พ.ศ. 2533 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2543
2.       หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง" ทุกประเทศภาคีอนุสัญญาฯ มีพันธกรณีในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอนุสัญญาฯ แบ่งประเทศภาคีต่างๆออกเป็น สองกลุ่มใหญ่ คือ ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries) กับกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non Annex I countries)
3.       หลักการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสารประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความโปร่งใส ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าต้องมีการจัดทำ รายงานแห่งชาติภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Communication under United Nations Framework Convention on Climate Change) ซึ่งมีเงื่อนไขในเรื่องของความสมบูรณ์ของเนื้อหา และระยะเวลา ที่แตกต่างกันระหว่างประเทศในภาคผนวก I และนอกภาคผนวก I
4.       หลักการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยกว่าเนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนามีโอกาสเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสูง ดังนั้นหลักการนี้ต้องการให้ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้ความสะดวก สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งทางด้านการเงินและเทคโนโลยี กับประเทศกำลังพัฒนาและความช่วยเหลือนี้ต้องเป็นส่วนเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ให้อยู่เดิม ปัจจุบัน อนุสัญญาฯ ได้ใช้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วดำเนินนโยบายถ่ายทอดเทคโนโลยีที่สะอาดให้กับประเทศกำลังพัฒนา
 
                                             ประเทศในภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries)
              ประกอบด้วยประเทศอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับเดียวกับปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ภายในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ตามมาตรา 4.2 (ก) และ (ข) เป็นกลุ่มที่ยอมรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซในปี พ.ศ. 2553-2555 ตามมาตรา 3 และภาคผนวก ข ของพิธีสารเกียวโต ประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วย 24 ประเทศในกลุ่ม Organization of Economic Cooperation and development (OECD) สหภาพยุโรปและอีก 14 ประเทศที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างเป็นระบบตลาดเสรี (โครเอเทีย ลิกเตนสไตน์ โมนาโก และ สโลวาเกีย แทนที่ประเทศเช็กโกสโลวาเกีย)
                                             กลุ่มประเทศภาคผนวกที่ 2 (Annex II)
                     ประกอบไปด้วยประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั้งหมด
 
 
แหล่งข้อมูล :  www.lerners.in.th